คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ที่อยู่ในเครือข่าย
โดยคำสั่ง Ping จะส่งข้อมูลที่เป็นแพ็คเกจ 4 ชุดๆละ 32 Byte ไปยังคอมพิวเตอร์
ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบ
หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์เป้าหมายก็แสดงว่าการเชื่อมต่อ
เครือข่ายยังเป็นปกติ แต่หากไม่มีการตอบรับกลับมา
ก็แสดงว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือเครือข่าย
อยู่ในช่วงหนาแน่น ดังนั้นจะเห็นว่าคำสั่ง Ping มีประโยชน์อย่างมาก
ในการตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อ
เครือข่ายเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการเรียกใช้งานมีดังนี้
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd เพื่อเรียกใช้งาน Command Prompt ดังรูป
2..เมื่อปรากฏหน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์คำสั่ง ping ตามด้วยหมายเลข IP Address
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าไปตรวจสอบลงไป จากนั้นกดปุ่ม Enter
**ในที่นี้จะใช้เว็บไซต์ google.co.th เป็นตัวอย่าง**
หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์ปลายทาง จะปรากฏคำสั่งเหมือนดังในภาพ
แสดงว่าคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามปกติ
3..แต่ถ้าปรากฏคำสั่ง “Request timed out” ดังภาพด้านล่างนั่นแสดงว่าคอมพิวเตอร์ทั้ง 2
เกิดปัญหาขัดข้องไม่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
ซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย
รวมถึงการตั้งค่าต่างๆให้ถูกต้อง แล้วลองใช้คำสั่ง Ping ตรวจสอบอีกครั้ง
ตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกันกับคำสั่ง Ping
Usage: ping [-t] [-a] [-n count] [-l size] [-f] [-i TTL] [-v TOS] [-r count]
[-s count] [[-j host-list] | [-k host-list] | [-w timeout] target_name
Option:
-t Ping ไปยัง Host ตามที่ระบุเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่งยกเลิกโดยกดแป้น Ctrl-C.
และหากต้องการดูสถิติให้กดแป้น Ctrl-Break
-a เปลี่ยนหมายเลข IP Address ของ Host เป็นชื่อแบบตัวอักษร
-n count Ping แบบระบุจำนวน echo ที่จะส่ง
-l size กำหนดขนาด buffer
-f ตั้งค่าไม่ให้แยก flag ใน packet.
-i TTL Ping แบบกำหนด Time To Live โดยกำหนดค่าตั้งแต่ 1-255
-v TOS กำหนดประเภทของบริการ (Type of service)
-r count Ping แบบให้มีการบันทึกเส้นทางและนับจำนวนครั้งในการ hops จนกว่าจะถึงปลายทาง
-s count Ping แบบนับเวลาในการ hop แต่ละครั้ง
-j host-list Loose source route along host-list.
-k host-list Strict source route along host-list.
-w timeout Ping แบบกำหนดเวลารอคอยการตอบรับ
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
คำสั่งCommand : Tracert
คำสั่ง Tracert เป็นคำสั่งที่จะช่วยให้ท่านสามารถติดตามดูเส้นทางการเชื่อมต่อของ Router
ไปยังจุดหมายปลายทาง ท่านสามารถใช้คำสั่ง Tracert เพื่อประเมินว่า Router หรือการเชื่อมต่อ
บนเส้นทางที่ทอดสู่คอมพิวเตอร์ปลายทางนั้น เกิดปัญหาติดขัดหรือไม่
การทำงานของ Tracert ได้แก่การ ส่งชุดของ ICMP Echo Request ออกไป ในการร้องขอแต่ละครั้ง
จะมีการเพิ่มค่า TTL เป็น 1 ค่าเสมอ เมื่อ Router ตัวแรกได้รับข่าวสาร มันจะลดค่า TTL ลงไป 1 ค่า
และเมื่อใดที่ค่า TTL บนข่าวสารที่ร้องขอเข้ามาเหลือค่าเป็น 1 ก็หมายความว่าค่า TTL ของ Router
จะมีค่าเป็นศูนย์ นั่นคือจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า "Time Exceed " ในลักษณะของข่าวสารปรากฏที่หน้าจอ
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอไป และถ้าหากว่ามีรูปดอกจัน ปรากฏอยู่ มีความหมายว่า Hop ดังกล่าวมีค่า
Delay มากเกินไป หรือเกิดปัญหาติดขัด และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องนี้ ติดต่อกับเครื่องปลายทางได้ช้ามาก
tracert เป็น utility ที่ช่วยให้ค้นหาเส้นทางเดินจาก PC ของคุณไปยัง Address ที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยบอก
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าถึง host ที่ต้องการ เช่น กรณีเมื่อก่อนเคยเข้าhost นี้ได้เร็ว แต่ปัจจุบันช้า
ก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อดูเส้นทางการเดินว่าเส้นทางเดินมีอะไรผิดปกติไหม หรือว่าเดินหลงทาง
ขั้นตอนการใช้คำสั่ง Tracert
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
2.ให้พิมพ์คำสั่งว่า:tracert domain.com หรือ tracert mail.domain.com
** domain.com คือชื่อของเว็บไซต์ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบเส้นทาง**
ในตัวอย่างนี้กำหนดให้ google.com เป็นเว็บไซต์ปลายทาง แล้วกด enter ซึ่งจะได้ผล เหมือนรูปข้างล่าง

จากรูปจะเห็นได้ว่า กว่าที่เครื่องคอมฯของเราจะไปเอาข้อมูลหน้า website www.google.com มาแสดง
ที่หน้าเว็บบราวเซอร์ได้นี้ มันต้องวิ่งผ่านจุดต่างๆ ตั้ง 15 จุด ซึ่งจุดต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นเครื่อง server
ที่ทำหน้าที่เป็น router หรือว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์ network อย่างอื่นก็ได้
อัตราความเร็วของ Internet
ในประเทศ Local Internet
ความเร็ว < 10 ---------->> เร็วมากมาก
ความเร็ว < 20 ---------->> เร็วมาก
ความเร็ว < 30 ---------->> เร็ว
ความเร็ว < 40 ---------->> ค่อนข้างเร็ว
ความเร็ว < 50 - 100 ---->> ปกติ
ความเร็ว > 100 ขึ้นไป ถือว่าค่อนข้างช้าในระดับ internet adsl
ส่วนความเร็วต่างประเทศ ไม่ให้มากกว่า 400 ถ้ามากกว่า 400 ถือว่าช้า
ไปยังจุดหมายปลายทาง ท่านสามารถใช้คำสั่ง Tracert เพื่อประเมินว่า Router หรือการเชื่อมต่อ
บนเส้นทางที่ทอดสู่คอมพิวเตอร์ปลายทางนั้น เกิดปัญหาติดขัดหรือไม่
การทำงานของ Tracert ได้แก่การ ส่งชุดของ ICMP Echo Request ออกไป ในการร้องขอแต่ละครั้ง
จะมีการเพิ่มค่า TTL เป็น 1 ค่าเสมอ เมื่อ Router ตัวแรกได้รับข่าวสาร มันจะลดค่า TTL ลงไป 1 ค่า
และเมื่อใดที่ค่า TTL บนข่าวสารที่ร้องขอเข้ามาเหลือค่าเป็น 1 ก็หมายความว่าค่า TTL ของ Router
จะมีค่าเป็นศูนย์ นั่นคือจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า "Time Exceed " ในลักษณะของข่าวสารปรากฏที่หน้าจอ
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอไป และถ้าหากว่ามีรูปดอกจัน ปรากฏอยู่ มีความหมายว่า Hop ดังกล่าวมีค่า
Delay มากเกินไป หรือเกิดปัญหาติดขัด และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องนี้ ติดต่อกับเครื่องปลายทางได้ช้ามาก
tracert เป็น utility ที่ช่วยให้ค้นหาเส้นทางเดินจาก PC ของคุณไปยัง Address ที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยบอก
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าถึง host ที่ต้องการ เช่น กรณีเมื่อก่อนเคยเข้าhost นี้ได้เร็ว แต่ปัจจุบันช้า
ก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อดูเส้นทางการเดินว่าเส้นทางเดินมีอะไรผิดปกติไหม หรือว่าเดินหลงทาง
ขั้นตอนการใช้คำสั่ง Tracert
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
2.ให้พิมพ์คำสั่งว่า:tracert domain.com หรือ tracert mail.domain.com
** domain.com คือชื่อของเว็บไซต์ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบเส้นทาง**
ในตัวอย่างนี้กำหนดให้ google.com เป็นเว็บไซต์ปลายทาง แล้วกด enter ซึ่งจะได้ผล เหมือนรูปข้างล่าง

จากรูปจะเห็นได้ว่า กว่าที่เครื่องคอมฯของเราจะไปเอาข้อมูลหน้า website www.google.com มาแสดง
ที่หน้าเว็บบราวเซอร์ได้นี้ มันต้องวิ่งผ่านจุดต่างๆ ตั้ง 15 จุด ซึ่งจุดต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นเครื่อง server
ที่ทำหน้าที่เป็น router หรือว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์ network อย่างอื่นก็ได้
อัตราความเร็วของ Internet
ในประเทศ Local Internet
ความเร็ว < 10 ---------->> เร็วมากมาก
ความเร็ว < 20 ---------->> เร็วมาก
ความเร็ว < 30 ---------->> เร็ว
ความเร็ว < 40 ---------->> ค่อนข้างเร็ว
ความเร็ว < 50 - 100 ---->> ปกติ
ความเร็ว > 100 ขึ้นไป ถือว่าค่อนข้างช้าในระดับ internet adsl
ส่วนความเร็วต่างประเทศ ไม่ให้มากกว่า 400 ถ้ามากกว่า 400 ถือว่าช้า
คำสั่งCommand : Netstat
Netstat เป็นคำสั่งพื้นฐานของวินโดว์ที่ใช้แสดงการเชื่อมต่อจากที่ต่างๆทั้งหมดออกมา
ไม่ว่าจะมาจากโปรโตคอล TCP, UDP, ICMP และอื่นๆ รวมไปถึงหมายเลขพอร์ตและ IP
ของผู้ติดต่อ ออกมาให้เราดูเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบการเชื่อมต่อของเครื่องของเรา
สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่านหน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ โดยเข้าไปที่
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
2. จะได้หน้าจอ Command Prompt ออกมาให้เราทดลองพิมพ์คำสั่งคำว่า netstat ลงไปแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างภาพซึ่งในแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันแล้วแต่การเชื่อมต่อที่เราได้เชื่อมต่อเอาไว้โดยหลักๆก็จะมีข้อมูลดังต่อไปนี้
Proto คือโปรโตคอลที่กำลังใช้งานอยู่จะมี TCP และ UDP เป็นหลัก
Local Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง:พอร์ตที่ใช้งานอยู่) คือจะแสดง หมายเลข IP ของเรา
(ในที่นี้เป็นชื่อเครื่อง) และ พอร์ตที่กำลังใช้งานอยู่
Foreign Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง:พอร์ตที่ใช้ติดต่ออยู่): อันนี้จะแสดงชื่อหรือ IP addressของ
เครื่องที่เรากำลังติดต่ออยู่ด้วย และหมายเลขพอร์ตที่เราใช้เชื่อมต่อนั้นๆ
State คือ สถานะของการเชื่อมต่อของ netstat นั้นๆจะมีอยู่ด้วยกัน 4 สถานะหลักๆได้แก่
Established เป็นสถานะที่บอกว่าเครื่องนั้นๆได้เกิดการเชื่อมต่อกับ IP address ปลายทาง
ด้วยพอร์ตหมายเลขนั้นแล้ว ซึ่งสถานะนี้เป็นสถานะที่เกิดได้ทั่วไปเพราะการเชื่อมต่อใน internet นั้น
เป็นเรื่องที่ธรรมดาอยู่แล้วแต่ถึงอย่างไรก็ตามเราควรตรวจสอบให้ดีเพราะมีบางพอร์ตที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควร
จะมีการเชื่อมต่ออยู่เช่นพอร์ต 23 ซึ่งเป็นพอร์ตของ telnet ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นไม่มีใครใช้กันสักเท่าไร
และที่สำคัญอีกอย่างสำหรับสถานะ Established ก็คือควรตรวจสอบก่อนว่าเราไม่ได้ connect ไปหา
IP address แปลกๆเข้าให้เพราะว่าบางที่นั้นอาจเป็นเพราะว่าในเครื่องของเราลักลอบติดต่อไป
ด้วยโปรแกรมอันตรายอย่าง Trojan อยู่ก็เป็นไปได้
Time_wait คือสถานะที่รอการเชื่อมต่อกลับมาอยู่หรือถ้าเราจะมองในแง่ร้ายสุดๆก็คือโดนสแกนพอร์ตอยู่
Listening คือยังไม่มีเครื่องใดติดต่อมาหรือว่ากำลังรอการเชื่อมต่ออยู่นั้นเอง
Close_wait คือปิดการเชื่อมต่อปกติจะไม่พบมากสำหรับสถานะนี้
และสถานะอื่นๆที่อาจพบได้แก่ SYN_SENT , FIN_WAIT เป็นต้น
ค่าพารามิเตอร์ต่างๆของ netstat นอกจากคำสั่งพื้นฐานโดยทั่วไปนั้นแล้ว netstat ยังมีค่าพารามิเตอร์
ต่างๆออกมาเพื่อที่จะทำให้การตรวจสอบนั้นเป็นไปได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งพารามิเตอร์เหล่านั้น
เราสามารถดูได้จาก help ของตัว netstat เองซึ่งคำสั่งนั้นก็คือ netstat /? ซึ่งจะเป็นภาษาอังกฤษ
หรือว่าสามารถอ่านความหมายและวิธีการใช้งานเบื้องต้นได้ข้างล่าง
คำสั่งหลักๆของ netstat
-a คือคำสั่งที่ให้แสดงการเชื่อมต่อทั้งหมดออกมาไม่ว่าจะเป็น IP address หรือว่าพอร์ตก็ตาม
ส่วนใหญ่คำสั่งนี้จะแสดงเป็นชื่อแทนที่จะเป็น IP address โดยตรง ตัวอย่างดังภาพด้านล่าง

-e คือ คำสั่งที่แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบของสถิติ เช่น มีการส่งออกไปกี่ Bytes, จำนวนแแพ็คเกจที่ดีๆ, จำนวนแพ็คเกจที่ถูกทิ้ง, ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และอีกหลายๆอย่าง
-n คือคำสั่งที่มีการสั่งให้แสดงเป็นหมายเลข IP address แทนที่จะเป็นแบบชื่อ
-o แสดง process ID ที่มีการเชื่อมต่ออยู่ด้วย
-p proto คือคำสั่งที่ให้แสดงการเชื่อมต่อในโปรโตคอลนั้นออกมาด้วยไม่ว่าจะเป็น TCP, UDP, TCPv6, UDPv6, และถ้าใช้ควบคู่กับคำสั่ง –s จะสามารถแสดง โปรโตคอลอื่นๆได้ด้วย ลักษณะการใช้งาน netstat –p tcp เป็นต้น ถ้าอยากดูโปรโตคอลอื่นก็เปลี่ยนจาก tcp เป็นโปรโตคอลอื่นที่ต้องการ
-r แสดงข้อมูลใน routing Table ของเครื่อง
-s แสดงสถิติของโปรโตคอลอื่นๆออกมาด้วยยกตัวอย่างเช่น IP, IPv6, ICMP, ICMPv6, TCP, TCPv6,UDP, UDPv6 เป็นต้น
netstat (ค่าตัวเลข) คือคำสั่งที่บังคับให้มีการแสดงการเชืื่อมต่อนั้นทุกๆ ค่าตัวเลข วินาที
พารามิเตอร์อื่นๆ –b และ –v ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันและ Tip ที่น่ารู้เกี่ยวกับ netstat นั้นก็คือ
พารามิเตอร์ต่างๆที่เราเห็นนั้นบางพารามิเตอร์เราสามารถใช้งานควบคู่กันได้ยกตัวอย่าง เช่น –a และ –n
ลักษณะการใช้งานเราสามารถใช้ได้ 2 แบบนั้นก็คือ netstat –a –n หรือว่า netstat –an เลยก็ได้
ไม่ว่าจะมาจากโปรโตคอล TCP, UDP, ICMP และอื่นๆ รวมไปถึงหมายเลขพอร์ตและ IP
ของผู้ติดต่อ ออกมาให้เราดูเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบการเชื่อมต่อของเครื่องของเรา
สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่านหน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ โดยเข้าไปที่
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
2. จะได้หน้าจอ Command Prompt ออกมาให้เราทดลองพิมพ์คำสั่งคำว่า netstat ลงไปแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างภาพซึ่งในแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันแล้วแต่การเชื่อมต่อที่เราได้เชื่อมต่อเอาไว้โดยหลักๆก็จะมีข้อมูลดังต่อไปนี้
Proto คือโปรโตคอลที่กำลังใช้งานอยู่จะมี TCP และ UDP เป็นหลัก
Local Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง:พอร์ตที่ใช้งานอยู่) คือจะแสดง หมายเลข IP ของเรา
(ในที่นี้เป็นชื่อเครื่อง) และ พอร์ตที่กำลังใช้งานอยู่
Foreign Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง:พอร์ตที่ใช้ติดต่ออยู่): อันนี้จะแสดงชื่อหรือ IP addressของ
เครื่องที่เรากำลังติดต่ออยู่ด้วย และหมายเลขพอร์ตที่เราใช้เชื่อมต่อนั้นๆ
State คือ สถานะของการเชื่อมต่อของ netstat นั้นๆจะมีอยู่ด้วยกัน 4 สถานะหลักๆได้แก่
Established เป็นสถานะที่บอกว่าเครื่องนั้นๆได้เกิดการเชื่อมต่อกับ IP address ปลายทาง
ด้วยพอร์ตหมายเลขนั้นแล้ว ซึ่งสถานะนี้เป็นสถานะที่เกิดได้ทั่วไปเพราะการเชื่อมต่อใน internet นั้น
เป็นเรื่องที่ธรรมดาอยู่แล้วแต่ถึงอย่างไรก็ตามเราควรตรวจสอบให้ดีเพราะมีบางพอร์ตที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควร
จะมีการเชื่อมต่ออยู่เช่นพอร์ต 23 ซึ่งเป็นพอร์ตของ telnet ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นไม่มีใครใช้กันสักเท่าไร
และที่สำคัญอีกอย่างสำหรับสถานะ Established ก็คือควรตรวจสอบก่อนว่าเราไม่ได้ connect ไปหา
IP address แปลกๆเข้าให้เพราะว่าบางที่นั้นอาจเป็นเพราะว่าในเครื่องของเราลักลอบติดต่อไป
ด้วยโปรแกรมอันตรายอย่าง Trojan อยู่ก็เป็นไปได้
Time_wait คือสถานะที่รอการเชื่อมต่อกลับมาอยู่หรือถ้าเราจะมองในแง่ร้ายสุดๆก็คือโดนสแกนพอร์ตอยู่
Listening คือยังไม่มีเครื่องใดติดต่อมาหรือว่ากำลังรอการเชื่อมต่ออยู่นั้นเอง
Close_wait คือปิดการเชื่อมต่อปกติจะไม่พบมากสำหรับสถานะนี้
และสถานะอื่นๆที่อาจพบได้แก่ SYN_SENT , FIN_WAIT เป็นต้น
ค่าพารามิเตอร์ต่างๆของ netstat นอกจากคำสั่งพื้นฐานโดยทั่วไปนั้นแล้ว netstat ยังมีค่าพารามิเตอร์
ต่างๆออกมาเพื่อที่จะทำให้การตรวจสอบนั้นเป็นไปได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งพารามิเตอร์เหล่านั้น
เราสามารถดูได้จาก help ของตัว netstat เองซึ่งคำสั่งนั้นก็คือ netstat /? ซึ่งจะเป็นภาษาอังกฤษ
หรือว่าสามารถอ่านความหมายและวิธีการใช้งานเบื้องต้นได้ข้างล่าง
คำสั่งหลักๆของ netstat
-a คือคำสั่งที่ให้แสดงการเชื่อมต่อทั้งหมดออกมาไม่ว่าจะเป็น IP address หรือว่าพอร์ตก็ตาม
ส่วนใหญ่คำสั่งนี้จะแสดงเป็นชื่อแทนที่จะเป็น IP address โดยตรง ตัวอย่างดังภาพด้านล่าง

-e คือ คำสั่งที่แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบของสถิติ เช่น มีการส่งออกไปกี่ Bytes, จำนวนแแพ็คเกจที่ดีๆ, จำนวนแพ็คเกจที่ถูกทิ้ง, ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และอีกหลายๆอย่าง
-n คือคำสั่งที่มีการสั่งให้แสดงเป็นหมายเลข IP address แทนที่จะเป็นแบบชื่อ
-o แสดง process ID ที่มีการเชื่อมต่ออยู่ด้วย
-p proto คือคำสั่งที่ให้แสดงการเชื่อมต่อในโปรโตคอลนั้นออกมาด้วยไม่ว่าจะเป็น TCP, UDP, TCPv6, UDPv6, และถ้าใช้ควบคู่กับคำสั่ง –s จะสามารถแสดง โปรโตคอลอื่นๆได้ด้วย ลักษณะการใช้งาน netstat –p tcp เป็นต้น ถ้าอยากดูโปรโตคอลอื่นก็เปลี่ยนจาก tcp เป็นโปรโตคอลอื่นที่ต้องการ
-r แสดงข้อมูลใน routing Table ของเครื่อง
-s แสดงสถิติของโปรโตคอลอื่นๆออกมาด้วยยกตัวอย่างเช่น IP, IPv6, ICMP, ICMPv6, TCP, TCPv6,UDP, UDPv6 เป็นต้น
netstat (ค่าตัวเลข) คือคำสั่งที่บังคับให้มีการแสดงการเชืื่อมต่อนั้นทุกๆ ค่าตัวเลข วินาที
พารามิเตอร์อื่นๆ –b และ –v ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันและ Tip ที่น่ารู้เกี่ยวกับ netstat นั้นก็คือ
พารามิเตอร์ต่างๆที่เราเห็นนั้นบางพารามิเตอร์เราสามารถใช้งานควบคู่กันได้ยกตัวอย่าง เช่น –a และ –n
ลักษณะการใช้งานเราสามารถใช้ได้ 2 แบบนั้นก็คือ netstat –a –n หรือว่า netstat –an เลยก็ได้
คำสั่งCommand : IPConfig
IPConfig คำสั่งสำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ภายในเครื่อง
คำสั่ง IPConfig เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่
ซึ่งถ้าหากท่านไม่ทราบว่าหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไร
หรือมีรายละเอียดอะไรที่เกี่ยวข้องกับหมายเลข IP Address บ้าง ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่าน
หน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ โดยเข้าไปที่
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
จะได้หน้าจอ Command Prompt ออกมาให้เราพิมพ์คำสั่งคำว่า ipconfig ลงไปแล้วจะได้ผลลัพธ์
อย่างภาพซึ่งในแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันแล้วแต่การเชื่อมต่อที่เราได้เชื่อมต่อเอาไว้
2.ถ้าหากต้องการดูหมายเลข IP Address ซึ่งบอกรายละเอียดทั้งหมดก็สามารถดูได้
โดยพิมพ์ ipconfig วรรค /all จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูป
และนอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกับคำสั่ง IPConfig ได้แก่
ipconfig [/?] | /all | /renew [adapter] | /release [adapter] | /flushdns | /displaydns | /registerdns | /showclassid adapter | /setclassid adapter [classid] ]
Options:
/? แสดง help ของคำสั่งนี้
/all แสดงรายละเอียดทั้งหมด
/release ยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน
/renew ขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่เน็ตเวิร์คมีปัญหา เราอาจจะลองตรวจสอบได้โดยการใช้คำสั่งนี้ ซึ่งหากคำสั่งนี้ทำงานได้สำเร็จ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากระบบเครือข่าย แต่อาจจะเกิดจากซอฟท์แวร์ของเรา /flushdns ขจัด DNS Resolver ออกจาก cache.
/registerdns ทำการ Refreshes DHCP ทั้งหมด และ registers DNS names ใหม่
/displaydns แสดง DNS Resolver ทั้งหมดที่มีในอยู่ Cache.
/showclassid แสดง class IDs ทั้งหมดที่ DHCP ยอมให้กับการ์ดแลนใบนี้
/setclassid แก้ไข dhcp class id.
คำสั่ง IPConfig เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่
ซึ่งถ้าหากท่านไม่ทราบว่าหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไร
หรือมีรายละเอียดอะไรที่เกี่ยวข้องกับหมายเลข IP Address บ้าง ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่าน
หน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ โดยเข้าไปที่
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd
จะได้หน้าจอ Command Prompt ออกมาให้เราพิมพ์คำสั่งคำว่า ipconfig ลงไปแล้วจะได้ผลลัพธ์
อย่างภาพซึ่งในแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันแล้วแต่การเชื่อมต่อที่เราได้เชื่อมต่อเอาไว้
2.ถ้าหากต้องการดูหมายเลข IP Address ซึ่งบอกรายละเอียดทั้งหมดก็สามารถดูได้
โดยพิมพ์ ipconfig วรรค /all จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูป
และนอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกับคำสั่ง IPConfig ได้แก่
ipconfig [/?] | /all | /renew [adapter] | /release [adapter] | /flushdns | /displaydns | /registerdns | /showclassid adapter | /setclassid adapter [classid] ]
Options:
/? แสดง help ของคำสั่งนี้
/all แสดงรายละเอียดทั้งหมด
/release ยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน
/renew ขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่เน็ตเวิร์คมีปัญหา เราอาจจะลองตรวจสอบได้โดยการใช้คำสั่งนี้ ซึ่งหากคำสั่งนี้ทำงานได้สำเร็จ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากระบบเครือข่าย แต่อาจจะเกิดจากซอฟท์แวร์ของเรา /flushdns ขจัด DNS Resolver ออกจาก cache.
/registerdns ทำการ Refreshes DHCP ทั้งหมด และ registers DNS names ใหม่
/displaydns แสดง DNS Resolver ทั้งหมดที่มีในอยู่ Cache.
/showclassid แสดง class IDs ทั้งหมดที่ DHCP ยอมให้กับการ์ดแลนใบนี้
/setclassid แก้ไข dhcp class id.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)